เพียเจต์กล่าวว่า (Piaget,1972:1-12) “มนุษย์จะมีการพัฒนาเชาวน์ปัญญาไปตามลำดับขั้น จากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม วุฒิภาวะ และกระบวนการพัฒนาความสมดุลของบุคคลนั้น” ในการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองนั้น การจัดกระบวนการเรียนรู้จึงควรได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของ หรือ ข้อมูลต่างๆที่เป็นของจริง มีความสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถจัดกระทำ ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ ทดลอง หรือลองผิดลองถูกกับสิ่งนั้นๆ จนเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจขึ้น ครูมีบทบาทคือทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดแก่ผู้เรียน จัดเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน ดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามพัฒนาการของผู้เรียน ให้คำปรึกษาแนะนำทั้งทางด้านวิชาการและสังคมแก่ผู้เรียน ดูแลให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหา และประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนั้นครูยังต้องมีความเป็นประชาธิปไตยและมีเหตุผลในการสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วย เนื่องจากการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองนี้ ขึ้นกับความสนใจและการสร้างความหมายที่แตกต่างกันของบุคคล ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะหลากหลาย ดังนั้น การประเมินผลควรใช้วิธีการหลากหลาย เช่น การประเมินจากเพื่อน แฟ้มผลงาน (portfolio) และการประเมินตนเองด้วย หรือการวัดผลที่ซับซ้อนขี้นตามบริบทก็ได้เช่นกัน ตัวอย่างการจัดกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีดังนี้ คลิกที่ชื่อหนังสือ เพื่อดูตัวอย่างเนื้อหาเพิ่มเติม 1.ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง ป.1-6 จัดกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอนให้เด็กได้คิด ค้นให้พบในสิ่งที่อยากรู้ แล้วลงมือปฏิบัติ …
Read More »
You must be logged in to post a comment.