Benyapha Sophon

เสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านโครงงานให้ผู้เรียนคิดเป็น-สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้

Active Learning เป็นแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป (Bonwell, 1991) วิธีการจัดการเรียนรู้นั้น จะนำเทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรม โดยจะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน ลักษณะของ Active Learning ไชยยศ เรืองสุวรรณ (มปป.) ได้อธิบายถึงลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไว้ดังนี้ 1. เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมองได้แก่การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 2. เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด 3. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพนัธ์ร่วมกันและร่วมมือกัน มากกว่าการแข่งขัน 5. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทำงาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ 6. เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ใหผู้เรียนอ่าน พูด ฟังคิดอย่างลุ่มลึกผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง 7. เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดข้้นสูง 8. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอด 9. ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง 10. …

Read More »

ใช้กิจกรรมการเขียนอิสระฝึกทักษะการนำตนเองให้เด็กได้อย่างไร?

การทำงานเป็นระบบ  จำเป็นต้องใช้สมองในการคิด วางแผนและลงมือปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ จึงควรพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเยาวชนในวัยเรียนควรได้รับการฝึกทักษะอย่างต่อเนื่องและหลากหลายให้คิดเป็น สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ และนำตนเองได้เพื่อก้าวเผชิญกับโลกในชีวิตจริง การเรียนรู้การนำตนเอง (self-directed learning) เป็นทักษะที่สามารถฝึกได้จากความสนใจที่ได้รับการกระตุ้นหรือสนับสนุนให้เกิดความอยากรู้ อยากเห็น อยากเรียน โดยลงมือคิด-วางแผน-ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อสู่ความสำเร็จ จนสามารถนำตนเองไปได้ตลอดชีวิต กับทั้งสามารถเผื่อแผ่และช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างมีความสุขอีกด้วย กิจกรรมการเขียนอิสระ  เป็นหนึ่งในหลายกิจกรรมที่ใช้ฝึกเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้การนำตนเอง เป็นกิจกรรมการเขียนสร้างสรรค์ที่สามารถจัดมาบูรณาการได้ในหลากหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ แทรกในกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มบรรยากาศที่ท้าทาย ตามระดับชั้นของผู้เรียน ตัวอย่างกิจกรรมการเขียนอิสระสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่1-3 ที่มาของภาพ สมุดเขียนอิสระ การจัดกิจกรรมการเขียนอิสระ  ดร.อัจฉรา ฉายวิวัฒน์ได้เสนอแนวปฏิบัติ คือ 1.การเขียนอิสระ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดจินตนาการ อยากสร้างสรรค์ด้วยตนเอง และอยากเขียนออกมา 2.การเขียนอิสระ ให้ผู้เรียนเขียนในสิ่งที่ตนเองคิดอยู่ในสมอง ฝึกให้คิดเอง แล้วเปลี่ยนความคิดออกมาเป็นภาษาเขียน 3.การเขียนอิสระ ปล่อยให้ผู้เรียนผ่อนคลาย มีอิสระในขณะที่เขียน จึงไม่ควรมีรูปแบบในการเขียน 4.การเขียนอิสระ อาจให้ผู้เรียนเริ่มจากการเขียนสั้นๆ วาดภาพประกอบให้ผู้อ่านเข้าใจความคิดของผู้เขียน/ผู้เรียน อาจให้กำลังใจ แล้วค่อยๆเขียนให้มากขึ้น 5.การเขียนอิสระ ควรได้รับการตรวจที่มิต้องแก้ไข แต่อาจสอนเพิ่ม หรือให้คำแนะนำภายหลัง 6.การเขียนอิสระ ผู้จัดกิจกรรม/ครู เป็นผู้ที่ท้าทายความคิดของผู้เขียน/ผู้เรียนเท่านั้น …

Read More »

ประดิษฐ์โซลาร์เซลล์จากกระป๋องน้ำอัดลม

ใช้กระป๋องน้ำอัดลม กรรไกรอุตสาหกรรม กาวตราช้าง ลวดทองแดง เครื่อง Voltmeterและแสงอาทิตยเท่านั้น ..ไม่ลองไม่รู้

Read More »