มาสร้างเครื่องบินไอพ่นกัน

ขวดน้ำพลาสติก2ใบ — กลายเป็นเครื่องบินได้ไง ตามมาดูเร้วววววว

เครื่องบินไอพ่น
คือ เครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นเป็นบ่อเกิดแห่งกำลังผลักดันให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์ จะเกิดก๊าซร้อนมาก ซึ่งเมื่อพ่นออกมานั้นจะเกิดแรงดันไป ในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมหาศาล สามารถผลักดันให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็ว อากาศในท้องฟ้าระยะสูงจะมีความหนาแน่นน้อยลง แรงปะทะต้านทานก็น้อยลงไปด้วย แต่กำลังดันจากภายในเครื่องยนต์มิได้ลดน้อยลงเลย ดังนั้นเครื่องบินไอพ่นจึงบินได้เร็วขึ้น ในระยะสูงขึ้นตามลำดับ เพดานบินของเครื่องบินไอพ่นจึงสูงกว่าเครื่องบินธรรมดา

ตามปกติ คลื่นเสียงจะมีความเร็วประมาณ ๑,๒๐๐ กิโลเมตร ต่อหนึ่งชั่วโมง เครื่องบินที่บินเร็วกว่านี้ จะได้ชื่อว่า เป็นเครื่องบินเร็วกว่าเสียง ในทางเทคนิคเรียกความเร็วเท่าเสียงว่า มัค (Mach) ถ้าบินได้เร็วเป็นสองเท่าหรือสามเท่าของเสียง ก็เรียกว่า มัค ๒ หรือ มัค ๓ ตามลำดับ เครื่องบินไอพ่นเท่านั้นที่สามารถทำความเร็วได้สูงเช่นนี้

ในขณะที่เครื่องบินไอพ่นดันอากาศไปข้างหน้านั้น อากาศที่แหวกหนีไม่ทันก็จะถูกอัด หรือกดตัวเข้า ดังที่อากาศถูกสูบอัดเข้าไปในยางล้อรถหรือในลูกฟุตบอล ยิ่งเครื่องบินเร็วขึ้น การอัดตัวของอากาศก็ยิ่งมากขึ้น ณ ความเร็วเท่ากับเสียง อากาศข้างหน้าจะแน่น แข็งตัวประหนึ่งกำแพง โลหะกั้นไว้ กำแพงเสียงนี้ จะเคลื่อนเป็นคลื่นไปเรื่อยๆ จนถึงพื้น จะเกิดเสียงดังสั่นสะเทือนที่เรียกว่า ซอนิคบูม (sonic boom) เป็นเหตุให้บานกระจก ประตูหน้าต่างแตกไปได้ เครื่องบินไอพ่น สมัยเริ่มแรกมิได้ศึกษาเรื่องนี้พอ จึงสร้างไว้ให้มีความแข็งแรงอย่างธรรมดา เมื่อบินเร็วมากๆ ถึงขั้นเจาะข้ามเขตกำแพงเสียง เครื่องบินไอพ่นก็จะเกิดระเบิดพังทลายเป็นชิ้นเล็กๆ ตกลงมา มีลักษณะเหมือนปาขวดแก้วให้แตกละเอียดที่กำแพงหิน ดังนั้นเครื่องบินไอพ่นสมัยใหม่ ที่มีความเร็ว ตั้งแต่หนึ่งเท่าของเสียงขึ้นไป จึงต้องมีโครงสร้างเป็นโลหะที่แข็งแรงเป็นพิเศษ

ข้อมูลจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=1&chap=8&page=t1-8-infodetail06.html

วัสดุอปุกรณ์และวิธีทำ

ดูคลิปวิธีทำโดยละเอียด

ที่มาของภาพ https://www.youtube.com/watch?v=u0PKS0nr63k&t=30s

แนะนำ โครงงานแยกกลุ่มสาระฯ

 

 

 

 

About Benyapha Sophon

Check Also

โครงงาน STEAM คืออะไร?

กระบวนการจัดการเรียนรู้บูรณาการความรู้และทักษะจำเป็นในการแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง