เทคนิคการเเรียนรู้ให้ง่ายขึ้น….ดูปุ๊บ รู้ปั๋บ
graphic organizer หรือผังกราฟิกคืออะไร ?
ผังกราฟิก คือ แบบของการสื่อสารเพื่อใช้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม
อย่างเป็นระบบ มีความเข้าใจง่าย กระชับ กะทัดรัด ชัดเจน ผังกราฟิกได้มาจากการนำข้อมูลดิบ หรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาทำการจัดกระทำข้อมูล
ในการจัดกระทำข้อมูลต้องใช้ทักษะการคิด เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ
การแยกแยะ การจัดประเภท การเรียงลำดับ การใช้ตัวเลข เช่น ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และการสรุป เป็นต้น จากนั้นจึงมีการเลือกแบบผังกราฟิกเพื่อนำเสนอข้อมูล
ที่จัดกระทำแล้วตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ผู้นำเสนอต้องการ
ช่วยผู้เรียนได้อย่างไร ?
1.ช่วยพัฒนาการคิดระดับสูง
Graphic organizers will help students classify ideas and communicate more effectively.
2.ช่วยการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทั้งในเรื่องการเข้าถึงข้อมูล เข้าใจกระบวนการ ความจำที่คงทน
Graphic organizers help students access prior knowledge, organize thoughts and ideas, brainstorm new topics, sequence events, compare and contrast, and visualize relationships.
3.ช่วยให้พัฒนาการคิด การประยุกต์และการแก้ปัญหาต่อไปได้เป็นอย่างดี
แนวทางในการทำผังกราฟิก มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดคำถามให้ผู้เรียนคิด
2. ให้ผู้เรียนระดมสมองเพื่อหาสิ่งที่ผู้เรียนคิดถึง
3. เขียนความคิดรวบยอดหลักไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขาออกมาเป็นความคิดรวบยอดย่อยตามลักษณะของความคิด
4. ลากเส้นเชื่อมโยงในแต่ละความคิดรวบยอด ความคิดรวบยอดที่สำคัญ จะอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางมากกว่า ความคิดรวบยอดที่สำคัญน้อยลงไปจะอยู่ห่างจุดศูนย์กลางออกไปเรื่อย ๆ
5. ลากเส้นเชื่อมโยงให้เหมาะสม แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่น ๆ
6. คำต่าง ๆ ควรมีลักษณะเป็นหน่วย เช่น หนึ่งคำต่อหนึ่งเส้น จะช่วยให้แต่ะคำสามารถเชื่อมโยงกับคำอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น
7. ใช้สีช่วยให้การจดจำ และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ใช้ลูกศรช่วยแสดงให้เห็นว่าแนวคิดต่าง ๆ เชื่อมโยงกันอย่างไร ใช้เครื่องหมายแสงการเชื่อมโยงหรือมิติอื่น ๆ ใช้รูปทรงเรขาคณิต แสดงขอบเขตของคำที่มีลักษณะของคำใกล้เคียงกัน ใช้ภาพรูป3 มิติเพื่อให้โดด
ตัวอย่าง
ตัวอย่างจาก http://www.benpublishing.net/2017/03/18/%E0%B8%BAbenbook-n-cd/
บรรณานุกรม
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. ทักษะ 5 C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. 244 หน้า
คลิกที่นี่อัพเดตข้อมูลสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ได้ทุกวัน
คลิกที่นี่ดูรายการหนังสือและซีดีเสริมการเรียนรู้ #ActiveLearning
You must be logged in to post a comment.